ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับดนตรี

ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น และได้เป็นเพื่อนทางจิตใจของมนุษย์มาช้านานแล้วคำถามที่ว่าศิลปะแขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด ไม่มีผู้ใดสามารถให้คำตอบได้ แต่ว่าอาศัยหลักฐานและข้ออิงทางมานุษยวิทยา(anthropology) แล้วก็จะกล่าวได้ว่า ดนตรีเริ่มมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นานนักหนาแล้ว มีหลักฐานว่าอารยธรรมของดนตรีในซีกโลกตะวันออกนั้น เกิดขึ้นมาก่อนดนตรีในซีกโลกตะวันตก ประมาณ 2,000 ปี สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดนตรีขึ้นครั้งแรกคือ "ความหวาดกลัว" ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าการเกิดกลางวันหรือกลางคืน การผลัดเปลี่ยนของฤดูกาล ฟ้าแลบฟ้าร้อง ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างความประหวั่นพรันพรึงและความกังวลใจให้แก่มนุษย์ในยุคนั้นเป็นอันมาก พวกเขามีความเข้าใจว่า ปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้มีทั้งพระเจ้าที่ดีและร้ายอยู่ในตัว ไม่เพียงแต่เท่านี้มนุษย์ยังมีความเชื่อว่าความงอกงามของพืชพันธุ์ธัญชาติ การพ้นภยันตรายจากสัตว์ร้าย การฟื้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ ก็ล้วนเป็นความกรุณาปรานีที่ได้รับจากพระเจ้าทั้งสิ้น ฉะนั้น การที่จะเอาใจและตอบแทนบุญคุณพระเจ้าต่างๆก็จะทำได้โดยการบวงสรวง การเต้น การร้อง และการแสดงสิ่งที่เขาปรารถนาจะให้เกิดขึ้น

สิ่งที่ทำให้เกิดดนตรีขึ้นอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ความสบายอกสบายใจ" นักปราชญ์ได้สันนิษฐานว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่ออกไปล่าสัตว์ ขณะทีเรารอดักสัตว์อย่างสบายอารมณ์อยู่นั้น เขขาอาจจะเอาคันธนูหรือหน้าไม้มาลองดีดสายดู เมื่อเขาสามารถดีดให้เกิดเสียงสูงต่ำบ้าง เขาก็เกิดความพอใจ และคันธนูก็ได้เป็นต้นกำเนิดของพิณขึ้นในเวลาต่อมา ส่วนปี่และขลุ่ยเกิดขึ้นมาอย่างไรนั้น นักปราชญ์ก็ได้สันนิษฐานว่าพวกเด็กเลี้ยงแกะ เด็กเลี้ยงวัว เมื่อนำฝูงสัตว์ของตนออกไปเลี้ยงตามท้องทุ่งก็อาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายแลกงอยเหงา การที่จะแก้อาการเหล่านี้ เขาอาจจะไปตัดปล้องไม้หรือเก็บเอากระดูกสัตว์มาถือจับเล่นก่อน เผอิญปล้องไม้หรือกระดูกสัตว์นั้นเกิดมีรู และเผอิญอีกเช่นกันที่เขาเอามันมาลองเป่าดู ครั้นเกิดเป็นเสียงเขาก็คงจะทึ่งจะกับมันมาก และพยายามปรับปรุงสิ่งเหล่านั้นจนกลายเป็นเพื่อนแก้เหงาได้ สำหรับกลองนั้น นักปราชญ์ให้ความเห็นว่า มนุษย์ในยุคนั้นคงลองเอาขนสัตว์ขึงบนหินที่กลวงหรือไม่ก็บนต้นไม้กลวง เมื่อเอาลองมือและไม้ตีบนหนังที่ขึงตึงนั้นก็จะเกิดเสียงดังขึ้น และนี่คือต้นกำเนิดกลองใบแรกของโลก ท่านทั้งหลายคงจะเคยเห็นรูปร่างและเคยฟังเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิดของวงดุริยางค์ในปัจจุบันมาแล้ว เป็นต้นว่า พิณฮาร์พ ขลุ่ยฟลูท กลองทิมปานี เครื่องดนตรีเหล่านี้ได้มีวิวัฒนาการเป็นขั้นๆ ต่อเนื่องกันมานานนักหนาแล้วจากสิ่งที่คนในยุค ก่อนประวัติศาสตร์ได้ก่อกำเนิดมันขึ้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
เพลงศาสนาหรือดนตรีทางศาสนานี้เองที่มีส่วนสำคัญ ทำให้ศาสนารุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสต์ศาสนา ประจักษ์พยานที่ทำให้เรานึกถึงเรื่องนี้ได้อย่างถ่องแท้คือ วิวัฒนาการของดนตรีคริสต์ศาสนาตั้งแต่มัธยมสมัยของยุโรปมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งนับเป็นช่วงเวลานานร่วม 7 ศตวรรษ อนึ่งคำว่า "ดนตรีศาสนา" นี้ตรงกับคำในภาษาอังกฤษที่ว่า church music หรือ sacred music คำในภาษาอังกฤษทั้งสองนี้ได้ใช้กันมาอย่างกว้างขวางทัดเทียมกัน
ดังได้กล่าวแล้วว่า Sacred music คือ ดนตรีศาสนา ที่ตรงกันข้ามกับคำนี้คือ secular music คำว่า secular music ก็คือดนตรีที่ให้ความรื่นเริงทางโลกหรือให้ความบันเทิงใจกับปุถุชน ถ้าจะพูดให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ก็จะพูดว่า secred music คือ "ดนตรีวัด" และ secular music คือ "ดนตรีบ้าน" ทั้งนี้เพราะ secred music มักขับร้องแลบรรเลงกันในวัด ส่วน secular music ส่วนมากจะปฏิบัติและฟังกันตามบ้าน ซึ่งนับตั้งแต่พระราชวังลงไปจนถึงทับของคนยากคนจน
ในขณะที่ดนตรีศาสนากำลังเจริญเฟื่องฟูอยู่นั้น ดนตรีที่ให้ความรุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่นั้น ดนตรีที่ให้ความรื่นเริงบันเทิงใจก็ได้ก้าวรุดหน้าไปไม่น้อย ผู้คนได้นำเอาดนตรีมาใช้ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น เช่น ใช้ประกอบการงานที่ใช้อยู่ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพลงประเภทนี้เรียกว่า "เพลงขับร้องระหว่างการทำงาน" (work song) ซึ่งได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเก็บฝักข้าวโพด เพลงปั่นฝ้าย เพลงคนตัดต้นไม้ เป็นต้น
เพลงที่ให้ความรื่นเริงบันเทิงใจแก่คนทั่ว ๆ ไปนอกจากเพลงขับร้องระหว่างการทำงานแล้ว ก็ยังมีเพลงประกอบการเล่น เพลงประกอบระบำ เพลงรัก เพลงกล่อมเด็ก เพลงเทศกาลและเพลงอื่น ๆ อีกมากมาย

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประโยชน์ของเสียงดนตรี
พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
พัฒนาด้านอารมณ์
พัฒนาด้านภาษา
พัฒนาด้านร่างกาย
พัฒนาด้านปัญญา
พัฒนาด้านความเป็นเอกบุคคล
พัฒนาด้านสุนทรีย์

ประโยชน์ของเสียงดนตรี


ประโยชน์ของ เสียงดนตรี
นอกจากคนเรามี ความต้องการ อาหาร เพื่อให้สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ แล้วมนุษย์ยัง มีความต้องการ อาหารอีก แบบหนึ่งซึ่งก็คือ อาหารทางใจ อาหารทางตา อาหารทางหู และอาหารทางสมองอีกด้วย ซึ่งอาหารประเภทหลังนี้ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ เกิดความบันเทิง อีกทั้งยังสามารถ ขัดเกลา ให้มนุษย์มีจิตใจที่ดีงาม ได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่ว่านี้ก็คือ ศิลปะการขับร้อง การเล่นดนตรี นั่นเอง
วงดนตรีไทย
มีประโยชน์มากมาย อาทิเช่น ช่วยให้ ผ่อนคลาย ทำให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจาก ในการเล่นดนตรี ต้องมีการเล่นกันหลายๆ คน ทั้งนักร้อง นักดนตรี ต้องมีสมาธิและ ที่สำคัญต้องมีความสามัคคีกัน เพื่อให้เกิดการ สร้างงานที่มีคุณภาพ นอกจากดนตรีจะช่วยสร้าง ความสามัคคีแล้วยัง ช่วยให้มนุษย์ มีวัฒนธรรม ซึ่งก็คือ คนที่แต่งเนื้อร้อง หรือนักประพันธ์เพลงต้องยึดหลักเกณฑ์ ที่มีระเบียบวินัย และคำสอนต่างๆ สอดแทรกลงใน เนื้อหาของเพลง เพื่อให้คนฟังได้คิดตาม และยึดเป็นหลัก ในการคิดทำสิ่งที่ดีงาม ต่อไป
ปัจจุบันมีนักร้อง นักดนตรี มากมาหลายภาษา และถ้าเรามีการชื่นชอบบทเพลง ซึ่งบางครั้งก็ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ชอบจังหวะ ของบทเพลงก็จะทำให้ เราได้มีการฝึกฝน และหัดร้อง จนสามารถที่จะเรียนรู้ถึง เนื้อหาของเพลงได้ จึงเป็นการ ฝึกภาษา ไปอย่างอัตโนมัติ

ป ร ะ เ ภ ท ท อ ง เ ห ลื อ ง





เฟร้นช์ฮอร์น [French Horn]
ทำเลียนแบบมาจากเขาสัตว์ที่นักล่าสัตว์และคนเลี้ยงแกะใช้เป่ามาแต่โบราณต่อมาทำด้วยทองเหลือง
ได้มีการปรับปรุงทำเสียงให้กว้างนอกจากจะใช้ริมฝีปากแล้วยังมีเครื่องบังคับเสียงเป็นพิเศษ
อยู่ที่ตัวฮอร์นผู้บรรเลงจะใช้นิ้วกดลงบนแป้นเล็กๆเสียงสดใสและแหลมเล็กจะเล่นให้อ่อนหวานก็ได้
ให้เสียงกังวานสง่าก็ได้ให้ช้าและโศกเศร้าก็ได้กล่าวกันว่าเสียงของฮอร์นนั้นดังกังวานสง่าผ่าเผย
ยากจะหาเครื่องดนตรีอื่นใดเทียบได้

ทรัมเปต [Trumpet]
เสียงของทรัมเป็ตสูงที่สุดในประเภทเดียวกันมีพลัง ดังชัดแจ๋วและออกจะหนักไปทางแปร๊ดๆ อยู่สักหน่อย
ถ้าเป่าให้ดังลั่นเต็มที่บางคนอาจรู้สึกแสบแก้วหูแต่ก็สามารถเป่าเบา ทำเสียงพร่าๆ เหมือนกระซิบก็ทำได้
นับเป็นลักษณะพิเศษทีเดียวปัจจุบันทรัมเป็ตจัดเข้าอยู่ในวงออร์เคสตร้าวงแจ๊ส และอื่นๆ

ทรอมโบน [Trombone]
ประกอบด้วยหลอดยาวๆ เป็นปากเป่าและปากบาน มีหลอดซ้อนสำหรับชักเข้า-ออก ให้มีระยะยาวสั้น
เพื่อเปลี่ยนเสียงอย่างรวดเร็วฟังตื่นเต้นเร้าใจ ใช้บรรเลงในวงออร์เคสตร้า แจ๊ส และวงเครื่องทองเหลือง เสียงของทรอมโบนดังคล้ายๆ ฮอร์น แต่มีช่วงกังวาน เนื่องจากเสียงไม่ค่อยจะสดใส จึงเหมาะที่จะทำเป็นเสียงแหบๆ เหมือนคนเป็นหวัด หรือเสียงอ้อๆแอ้ๆได้ดีมาก ทรอมโบนมีเสียงที่ทุ้มกว่าทรัมเป็ต จึงมีคนกล่าวว่า เป็นเบสของทรัมเปต

ทูบา [Tuba]
เป็นเครื่องดนตรีทองเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจึงให้เสียงต่ำสุดในจำพวกเครื่องทองเหลืองนี้
ส่วนมากใช้เป่าตอดเป็นจังหวะและทำเสียงประสานไม่เคยปรากฏว่ามีใครอุตริเอาทูบามาเป่าเดี่ยว

แตรวง


แตรวง เป็นวงดนตรีซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลืองจำพวกแตร และเครื่องตี เช่น กลอง มีทั้งวงเล็กและวงใหญ่ การบรรเลงเพลงจะใช้ผู้บรรเลงหลายคน บรรเลงในลักษณะการนั่งหรือยืนล้อมเป็นวง

แตรวง เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 โดยการรับเอาวัฒนธรรมทางตะวันตกเข้ามาหลายอย่าง โดยมีการฝึกทหารแบบฝรั่ง มีการใช้แตรเดี่ยวเป่าให้สัญญาณ และเป่าเพลงเดินนำหน้าแถวทหาร แตรวงในสมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องลมไม้ มีแต่เพียงเครื่องกระทบจำพวกกลอง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงบัญญัติคำว่า

ป ร ะ วั ติ ด น ต รี ส า ก ล


ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียงความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกายไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา
ดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตก

มีพื้นฐานจากความมุ่งหวังไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า จากหลักปรัชญากรีกโบราณในราวช่วงปี 800 ก่อนคริสตกาล ที่เน้นความสำคัญของการสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา และงดงามของจิตใจด้วยศิลปะ บทกวี ดนตรี การละครและระบำรำฟ้อน เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์สมบูรณ์ ปี 585-479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกชื่อ ปิธากอรัส คิดค้นทฤษฎีการเกิดเสียงขึ้นจากการคำนวณรอบการสั่นสะเทือน ของสายเสียง ได้ข้อสรุปว่า "ถ้าสายสั้นกว่าจะได้เสียงที่สูงกว่า ถ้าสายยาวกว่าจะได้เสียงที่ต่ำกว่า" วิชาความรู้และ แนวคิดนี้กระจายแพร่หลาย ชื่อเสียงปิธากอรัสเลื่องลือทั่วยุโรป
มีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น 4 ประเภท
1. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน
บาลาไลกาสืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณ ในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.1600-1750 นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพสูงถึงขีดสุดยอด
2. เครื่องเป่าลมไม้ - Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน
รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) หีบเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวง หรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้
3. เครื่องเป่าทองเหลือง - Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะคล้ายทรัมเป็ต มานานกว่า 4,000 ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ต เป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ
4. เครื่องกระทบ - Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง 2 ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป
กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วยประการฉะนั้น

ปร ะ เ ภ ท คี ย์ บ อร์ ด



เปียโน [Piano]
เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปลายคริสตศตวรรษที่18เสียงของเปียโนเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ที่ถูกฆ้อนเล็กๆตีสายซึ่งขึงอยู่ข้างในเมื่อผู้เล่นกดคีย์และเมือผู้เล่นยกนิ้วขึ้นสักหลาดชิ้นเล็กๆจะกลับ ทาบลงบนสายทำให้หยุดความสั่นสะเทือนเสียงก็จะหยุด เปียโนสามารถทำให้เสียงยาวได้โดย เหยียบ Pedalเปียโนมีช่วงเสียงกว้างมากสามารถเล่นให้มีเสียงดัง-เบาได้ ตามความแรงของนิ้วที่กดลงบนคีย์ ชื่อเรียกเต็มคือ เปียโนฟอร์เต้ (Piano-forte)
เป็นภาษาอิตาเลี่ยน หมายความว่าเล่นได้ทั้งเบาและดัง (piano แปลว่าเบา forte แปลว่าดัง)

ฮาร์พซิคอร์ด [Harpsichord]
เป็นต้นตระกูลของเปียโนนิยมเล่นกันแพร่หลายในคริสตศตวรรษ ที่ 16, 17 และ18มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
Claveein (ฝรั่งเศส) Clavicembalo (อิตาเลียน)และ Virginal (อังกฤษ) มีคีย์คล้ายๆ เปียโนแต่โดยมากมักจะมี 2 ชั้นเสียงเกิดขึ้นเพราะวัตถุคล้าย Prectrum ของกีต้าร์ เมื่อเวลาผู้เล่นกดคีย์เสียงคล้ายเสียงของ สแปนิชกีต้าร์ สามารถเล่นได้รวดเร็วและชัดเจนแจ่มใส แต่เสียงไม่ค่อยจะดังมากนัก

ซินธิไซเซอร์ [Synthesizer]
ซินธิไซเซอร์เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิคที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งให้เสียงแตกต่างกันมากมาย ภายในเครื่องเดียวสร้างความสะดวกให้ผู้เล่นสามารถค้นหาเสียงได้มากมาย

แอคคอร์เดี้ยน [Accordian]
ดัดแปลงมาจากออร์แกน ใช้หลักการสร้างลมเป่าในหลอดทำเสียงด้วยวิธีชักเข้าและชักออกของถุงลม แล้วกดบังคับเสียงจากลิ่มนิ้วเหมือนออร์แกนหีบเพลงชักมีมากมายหลายแบบจนนับไม่ถ้วน

ป ร ะ เ ภ ท ป ร ะ ก อ บ จั ง ห ว ะ



รำมะนา [Tambourine]
มีรูปร่างคล้ายกลองแบนๆ ขึงด้วยหนังหน้าเดียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ10นิ้วรอบๆ ขอบมีลูกกระพรวนติดอยู่เป็นระยะๆ เพื่อทำให้เกิดเสียงกรุ๋งกริ๋งเวลาผู้เล่นเขย่าเป็นเครื่องประกอบจังหวะที่พวกเสปน ยิปซี ใช้ประกอบการเต้นรำมาช้านาน เป็นเสียงที่ให้ความรู้สึกครึกครื้น สนุกสนาน

ฉาบ [Cymbals]
เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่มีลักษณะเหมือนฉาบของไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก เป็นจานทองเหลืองบางๆ 2 อัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-24 นิ้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง15-16 นิ้ว เป็นขนาดที่ใช้ในวงดุริยางค์ ใช้ตีกระทบกัน เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่ให้เสียงอึกทึกที่สุด

กลองชุด [Drumkit]
ประกอบด้วยกลองหลายใบรวมอยู่ด้วยกัน เช่น Bass,Tenor,Snare,Cymbals ใช้ผู้เล่น คนเดียวสำหรับBass Drum และ Cymbals ผู้เล่นใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง มือทั้งสองถือไม้ตีกลองใบอื่น และฉาบด้วย

กลองทิมปานี [Timpani]
ทิมปานีเป็นกลองที่ปรับระดับเสียงได้รูปร่างคล้ายกระทะ ตั้งอยู่บนฐาน ตัวกลองทำด้วยทองแดง ใช้หนังลูกวัวขึง มีสกรูอยู่รอบๆ ขอบกลองเพื่อใช้บังคับหนังกลองให้ตึงมากน้อยให้เกิดระดับเสียงที่ต้องการ นอกจากสกรูแล้วที่ฐานยังมีกระเดื่องไว้ให้ผู้เล่นเหยียบเปลี่ยนระดับเสียงอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ไม้ตีกลอง (Drum Sticks)ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน (ล็ก กลาง ใหญ่) หัวไม้ตีกลอง มักจะหุ้มด้วยสักหลาด ผ้า สำลี ไม้ก๊อก หรือ ฟองน้ำเสียงของทิมปานี จะทุ้มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลาง ของหน้ากลอง ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางยาวมากเสียงก็จะทุ้มมากถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางสั้น เสียงจะมีความทุ้มน้อย เสียงของกลองทิมปานี เทียบได้กับเสียงเบสเป็นเสียงที่แสดงอำนาจตื้นเต้น เร้าใจ กลองทิมปานีใช้ในวงซิม โฟนีออร์เคสตร้ามานานแล้ว

ระนาดฝรั่ง [Glockenspiel]
มีรูปร่างคล้าย Xylophone แต่เล็กกว่า บรรจุไว้ในกระเป๋าคล้ายกระเป๋าเดินทาง เวลาใช้ จะตั้งบนโต๊ะผู้เล่นยืนเล่นลูกระนาดทำด้วยแผ่นเหล็กมีไม้ตี มีเสียงดังกังวาน คล้ายระฆังเล็กมีวิวัฒนาการมาจาก ระฆังในโบสถ์ หลายๆใบเรียงกัน

ระนาดฝรั่ง [Xylophone]
ลูกระนาดทำด้วยไม้ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกัน วางตามแนวนอนมีขาตั้งติดมากับตัว ลูกระนาดวางราบบนรางที่มีหมุดตรึงไว้ ไม้ตีเป็นไม้นวมหรือไม้มีผ้าหุ้ม หรืออาจจะเป็นกระดาษพิเศษใต้ลูกระนาดจะมีหลอดยาวต่อลงมาเพื่อให้เสียงดังกังวาน ไพเราะเพิ่มขึ้นระนาดฝรั่งต่างจากระนาดไทยคือ ระนาดไทยจะเรียงติดกันเป็นพืดแต่ระนาดฝรั่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นเสียงปกติชั้นบนจะเป็นเสียงห่างครึ่งเสียงเหมือนKeyboard ชึ่งจะทำให้มีช่วงเสียงกว้างมากขึ้น Xylophone มีเสียงแกร่งสั้น ห้วน และชัดเจนมีขนาดใหญ่กว่า Glockenspiel

ป ร ะ เ ภ ท เ ค รื่ อ ง เ ป่ า ล ม ไ ม้
































โอโบ [Oboe]
จัดอยู่ในจำพวกที่มีลิ้นคู่(Double Reed)มีเสียงที่ไพเราะ สะกดใจคนได้มาก ตามประวัติเกิดในฝรั่งเศสประมาณ ศตวรรษที่ 17ปัจจุบันเป็นเครื่องเป่าชั้นนำในวงออร์เคสตร้า มีลักษณะคล้ายคลาริเนตยกเว้นตรงปากเป่าจะเป็นท่อยาว ตัวความยาวประมาณ 2 ฟุต ประโยชน์อย่างหนึ่งของโอโบคือ ใช้เป็นเครื่องเทียบหรือแต่งเสียงในวงออร์เคสตร้า

คลาริเนต [Clarinet]
เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีลิ้นเดี่ยว(Single Reed)ประดิษฐ์ขึ้นในเยอรมันนี เมื่อต้นคริสตศตวรรษ ที่ 17 เสียงของคลาริเนตมีความกว้างมากหวานกังวานไม่แพ้เครื่องเป่าชนิดใดถือเป็นตัวเอกในบรรดาเครื่องลมไม้ เป็นเครื่องเป่าสำคัญขนิดหนึ่งในวงออร์เคสตร้า และวงโยธวาทิต

แซกโซโฟน [Saxophone]
เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีลิ้นเดี่ยว(Single Reed)ปากทำด้วยไม้ แต่ตัวทำด้วยทองเหลือง มีลักษณะผสมผสานระหว่างเครื่องเป่าลมไม้กับเครื่องทองเหลืองตามประวัติว่ามีนักเป่าคลาริเนตคนหนึ่ง เชื่อว่านายSaxเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นจึงให้ชื่อว่า Saxophone ใช้ในวงOrchestraในบางโอกาส ที่ใช้มากในวง Jazz , Big band และวงโยธวาทิตจริงแล้ว Saxophone มีหลายชนิด คือ Soprano, alto, tenor, Baritone และ Bass ซึ่งเรียงลำดับ จากเสียงสูงสุด จนถึงต่ำสุด

บาซูน [Bassoon]
เป็นเครื่องลมไม้ที่จัดอยู่ในประเภทลิ้นคู่ (Double Reed)และให้เสียงที่ต่ำที่สุด ไม่แจ่มใส ให้ความรู้สึกหม่นหมอง เสียงแหบเหมือนผี มักไม่ค่อยมีใครนำมาบรรเลงเดี่ยวในประวัติมีเพียง โมสาร์ท เพียงคนเดียว ที่กล้านำมาใช้ในเพลงคอนแชร์โต้ส่วนใหญ่ใช้เป็นเสียงประสานหรือทำเสียงประหลาด ๆ น่ากลัวบาสชูน มีท่อลมใหญ่ และมีความยาวถึง 109 นิ้ว ผู้ประดิษฐ์จึงเอามาทบกันจนมีความยาว เหลือเพียง 50 นิ้ว และเนื่องจากมีน้ำหนักมาก จึงจำเป็นต้องใช้เชือกถักติดกับตัวปี่แล้วคล้องคอผู้เล่น

พิคโคโล [Piccolo]
เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่จัดอยู่ในจำพวกไม่มีลิ้นลักษณะเหมือนฟลุตแต่เล็กกว่า ความยาวประมาณ 12 นิ้ว
จึงทำให้เสียงที่ออกมาสูง แหลมคมกว่าฟลุต ให้ความรู้สึกร่าเริง พริ้วไหวเสียงจะได้ยินชัดเจนแม้อยู่ในวงโยธวาทิต ซึ่งกำลังบรรเลงด้วยเครื่องเป่าอื่นๆ มากมาย วิธีการจับขลุ่ยปิคโคโล จับยึดด้วยมือทั้งสองให้ตัวขลุ่ย ปัดหางไปทางขวา เป่าลมไปที่รูอยู่เกือบริมซ้าย

รีคอร์ดเดอร์ [Recorder]
เป็นเครื่องลมไม้ชนิดที่ไม่มีลิ้น มีหลายระดับเสียงมากมาย ตั้งแต่ Sopranino, Soprano, Alto, Tenor และ Bass ขนาดก็จะลดหลั่นกันลงมาจากเสียงต่ำสุด จะใหญ่สุด เสียงสูงสุดก็จะเป็นตัวที่เล็กสุด เวลาจะเป่าใช้ปากอมส่วนที่เป็นปากแล้วจึงเป่าออกไป ต้องการเสียงใดก็ขยับนิ้วที่ปิดรูอยู่ข้างๆ


ประโยชน์ของดนตรีต่อสังคมมนุษย์

1. ด้านการศึกษา นำเสียงดนตรีมาใช้ประกอบในการสอนแบบสร้างสรรค์ทางศิลปะผลปรากฏว่าเสียงดนตรีสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เสริมสร้างความคิด จินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด ทำให้หายเหนื่อย และผ่อนคลายความตึงเครียด

หลักการดังกล่าวนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรีก ในยุคเฮเลนิสติค(Hellinistic Period 440-330 B.C) ชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของ อีธอส (Doctrine of ethos) ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรี โดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความขัดแย้ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้าย ในหนังสือ Poetics นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์ เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรีซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไป ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วย ตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจ ก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่มีจิตใจสูง ดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล จึงมีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจ เปลโต สอนว่า “การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด” ยิ่งกว่านั้นเปลโตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหว ควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”บันไดเสียงทั้งสองข้างต้นทำให้เกิดอารมณ์กล้าหาญและสุภาพเรียบร้อย เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า “จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติก็แล้วกัน”

2.ด้านการแพทย์

ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นและยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น
การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยเฉพาะการใช้ดนตรีลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ดังที่ผู้ใช้นามปากกาว่า คุณทองจีน บ้านแจ้ง เขียนไว้ในเรื่อง แกะสะเก็ดคลาสสิค ในหนังสือ ชาวกรุง ฉบับที่ 5 พ.ศ.2522 ว่า“หมอชาวกรีกโบราณท่านหนึ่งชื่อว่า แอสคลีปีอุส(Asclepius)ได้ใช้ดนตรีบรรเลงให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแล้วฟัง ปรากฏว่าช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี”


3. ด้านสังคม

มีการใช้จังหวะดนตรีมากำหนดควบคุมการทำงาน เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง เช่นการพายเรือ จังหวะยก-ส่งของ เป็นต้น การใช้ดนตรีปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ เช่นเพลงปลุกใจ เพลงเชียร์ เป็นต้น
ใช้เสียงดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ให้ดูศักสิทธิ์ เคร่งขรึม น่าเชื่อถือ หรือสื่ออารมณ์ความรู้สึกที่ร่าเริง เบิกบาน สนุกสนาน ในงานเลี้ยงสังสรรค์ งานฉลองต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างงาน อาชีพ ให้กับบุคคลในสังคมอย่างมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น นักดนตรี นักร้อง ครูสอนดนตรี นักประพันธ์เพลง นักผลิตรายการคอนเสิร์ต นักดนตรีบำบัด ผู้อำนวยการเพลงหรือวาทยากรนักเขียนทางดนตรี นักประดิษฐ์เครื่องดนตรี และผู้ซ่อมหรือปรับเสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น


4. ด้านจิตวิทยา

ใช้เสียงดนตรีปรับเปลี่ยนนิสัยก้าวร้าวของมนุษย์ รักษาโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะเด็กจะทำให้มีสมาธิยาวขึ้น อ่อนโยนขึ้น โดยใช้หลักทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี ซึ่งเชื่อว่าดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของ มนุษย์ จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้ ปัจจุบัน มีนักดนตรีบำบัดผู้ซึ่งมีความสามารถฟื้นฟูและบำบัดรักษาความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำงานในด้านนี้

5. ด้านกีฬา

ใช้ดนตรีประกอบกิจกรรมกีฬา เช่น ยิมนาสติกกิจกรรมเข้าจังหวะ การเต้นแอโรบิค เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ที่ใช้ดนตรีเป็นส่วนประกอบในการดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจกล่าวได้ว่าดนตรีเป็นส่วนประกอบที่ขาดเสียมิได้ในกิจกรรมของสังคมมนุษย์

หัวใจ
myspace codes
Click here for Myspace glitter graphics and Myspace layouts