ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับดนตรี

ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น และได้เป็นเพื่อนทางจิตใจของมนุษย์มาช้านานแล้วคำถามที่ว่าศิลปะแขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด ไม่มีผู้ใดสามารถให้คำตอบได้ แต่ว่าอาศัยหลักฐานและข้ออิงทางมานุษยวิทยา(anthropology) แล้วก็จะกล่าวได้ว่า ดนตรีเริ่มมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นานนักหนาแล้ว มีหลักฐานว่าอารยธรรมของดนตรีในซีกโลกตะวันออกนั้น เกิดขึ้นมาก่อนดนตรีในซีกโลกตะวันตก ประมาณ 2,000 ปี สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดนตรีขึ้นครั้งแรกคือ "ความหวาดกลัว" ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าการเกิดกลางวันหรือกลางคืน การผลัดเปลี่ยนของฤดูกาล ฟ้าแลบฟ้าร้อง ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างความประหวั่นพรันพรึงและความกังวลใจให้แก่มนุษย์ในยุคนั้นเป็นอันมาก พวกเขามีความเข้าใจว่า ปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้มีทั้งพระเจ้าที่ดีและร้ายอยู่ในตัว ไม่เพียงแต่เท่านี้มนุษย์ยังมีความเชื่อว่าความงอกงามของพืชพันธุ์ธัญชาติ การพ้นภยันตรายจากสัตว์ร้าย การฟื้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ ก็ล้วนเป็นความกรุณาปรานีที่ได้รับจากพระเจ้าทั้งสิ้น ฉะนั้น การที่จะเอาใจและตอบแทนบุญคุณพระเจ้าต่างๆก็จะทำได้โดยการบวงสรวง การเต้น การร้อง และการแสดงสิ่งที่เขาปรารถนาจะให้เกิดขึ้น

สิ่งที่ทำให้เกิดดนตรีขึ้นอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ความสบายอกสบายใจ" นักปราชญ์ได้สันนิษฐานว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่ออกไปล่าสัตว์ ขณะทีเรารอดักสัตว์อย่างสบายอารมณ์อยู่นั้น เขขาอาจจะเอาคันธนูหรือหน้าไม้มาลองดีดสายดู เมื่อเขาสามารถดีดให้เกิดเสียงสูงต่ำบ้าง เขาก็เกิดความพอใจ และคันธนูก็ได้เป็นต้นกำเนิดของพิณขึ้นในเวลาต่อมา ส่วนปี่และขลุ่ยเกิดขึ้นมาอย่างไรนั้น นักปราชญ์ก็ได้สันนิษฐานว่าพวกเด็กเลี้ยงแกะ เด็กเลี้ยงวัว เมื่อนำฝูงสัตว์ของตนออกไปเลี้ยงตามท้องทุ่งก็อาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายแลกงอยเหงา การที่จะแก้อาการเหล่านี้ เขาอาจจะไปตัดปล้องไม้หรือเก็บเอากระดูกสัตว์มาถือจับเล่นก่อน เผอิญปล้องไม้หรือกระดูกสัตว์นั้นเกิดมีรู และเผอิญอีกเช่นกันที่เขาเอามันมาลองเป่าดู ครั้นเกิดเป็นเสียงเขาก็คงจะทึ่งจะกับมันมาก และพยายามปรับปรุงสิ่งเหล่านั้นจนกลายเป็นเพื่อนแก้เหงาได้ สำหรับกลองนั้น นักปราชญ์ให้ความเห็นว่า มนุษย์ในยุคนั้นคงลองเอาขนสัตว์ขึงบนหินที่กลวงหรือไม่ก็บนต้นไม้กลวง เมื่อเอาลองมือและไม้ตีบนหนังที่ขึงตึงนั้นก็จะเกิดเสียงดังขึ้น และนี่คือต้นกำเนิดกลองใบแรกของโลก ท่านทั้งหลายคงจะเคยเห็นรูปร่างและเคยฟังเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิดของวงดุริยางค์ในปัจจุบันมาแล้ว เป็นต้นว่า พิณฮาร์พ ขลุ่ยฟลูท กลองทิมปานี เครื่องดนตรีเหล่านี้ได้มีวิวัฒนาการเป็นขั้นๆ ต่อเนื่องกันมานานนักหนาแล้วจากสิ่งที่คนในยุค ก่อนประวัติศาสตร์ได้ก่อกำเนิดมันขึ้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
เพลงศาสนาหรือดนตรีทางศาสนานี้เองที่มีส่วนสำคัญ ทำให้ศาสนารุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสต์ศาสนา ประจักษ์พยานที่ทำให้เรานึกถึงเรื่องนี้ได้อย่างถ่องแท้คือ วิวัฒนาการของดนตรีคริสต์ศาสนาตั้งแต่มัธยมสมัยของยุโรปมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งนับเป็นช่วงเวลานานร่วม 7 ศตวรรษ อนึ่งคำว่า "ดนตรีศาสนา" นี้ตรงกับคำในภาษาอังกฤษที่ว่า church music หรือ sacred music คำในภาษาอังกฤษทั้งสองนี้ได้ใช้กันมาอย่างกว้างขวางทัดเทียมกัน
ดังได้กล่าวแล้วว่า Sacred music คือ ดนตรีศาสนา ที่ตรงกันข้ามกับคำนี้คือ secular music คำว่า secular music ก็คือดนตรีที่ให้ความรื่นเริงทางโลกหรือให้ความบันเทิงใจกับปุถุชน ถ้าจะพูดให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ก็จะพูดว่า secred music คือ "ดนตรีวัด" และ secular music คือ "ดนตรีบ้าน" ทั้งนี้เพราะ secred music มักขับร้องแลบรรเลงกันในวัด ส่วน secular music ส่วนมากจะปฏิบัติและฟังกันตามบ้าน ซึ่งนับตั้งแต่พระราชวังลงไปจนถึงทับของคนยากคนจน
ในขณะที่ดนตรีศาสนากำลังเจริญเฟื่องฟูอยู่นั้น ดนตรีที่ให้ความรุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่นั้น ดนตรีที่ให้ความรื่นเริงบันเทิงใจก็ได้ก้าวรุดหน้าไปไม่น้อย ผู้คนได้นำเอาดนตรีมาใช้ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น เช่น ใช้ประกอบการงานที่ใช้อยู่ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพลงประเภทนี้เรียกว่า "เพลงขับร้องระหว่างการทำงาน" (work song) ซึ่งได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเก็บฝักข้าวโพด เพลงปั่นฝ้าย เพลงคนตัดต้นไม้ เป็นต้น
เพลงที่ให้ความรื่นเริงบันเทิงใจแก่คนทั่ว ๆ ไปนอกจากเพลงขับร้องระหว่างการทำงานแล้ว ก็ยังมีเพลงประกอบการเล่น เพลงประกอบระบำ เพลงรัก เพลงกล่อมเด็ก เพลงเทศกาลและเพลงอื่น ๆ อีกมากมาย

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประวัติดนตรีสากล


ดนตรีตะวันตกแบ่งเป็น 7 สมัยใหญ่ ๆ ดังนี้
1. สมัยกลาง ( The Middle Ages ค.ศ. 850 – 1450 ) พ.ศ. 1393 – 1993 ก่อนสมัยนี้ราวศตวรรษที่ 6 ดนตรีขึ้นอยู่กับศาสนา Pope Gregorian เป็นผู้รวบรวมบทสวด เป็นทำนองเดียว ( Monophony ) โดยได้ต้นฉบับจกกกรีก เป็นภาษาละติน ต่อมาจึงมี 2 ทำนอง( Polyphony ) ศตวรรษที่ 11 การศึกษาเริ่มในโบสถ์ในสมัยกลางนี้เองได้เริ่มมีการบันทึกตัวโน้ต โดยมีพระองค์หนึ่งเป็นชาวอิตาเลียนชื่อ Guido D’Arezzo ( พ.ศ. 1538 – 1593 ) ได้สังเกตุเพลงสวดเก่าแก่เป็นภาษาละตินเพลงหนึ่งแต่ละประโยคจะมีเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น จึงนำเอาเฉพาะตัวแรกของบทสวดมาเรียง
กัน จึงออกเป็น Do Re Mi Fa Sol La Te Do( เว้นตัว Te เอาตัวที่ 2 ) ต่อมา ค.ศ. 1300 ( พ.ศ. 1843 ) ดนตรีก็เริ่มเกี่ยวกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
2. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ( The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1993 – 2143 ตรงกับสมัยโคลัมบัส และเชคสเปียร์ ดนตรีในยุคนี้มักจะเป็นการเริ่มร้องหมู่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการร้องเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ร้องกันในโบสถ์มี 4 แนว คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส การร้องจะมีออร์แกนหรือขลุ่ยคลอ
ดนตรีในสมัยนี้ยังไม่มีโน้ตอ่าน และมักเล่นตามเสียงร้อง
3. สมัยโบราค ( BaroQue ค.ศ. 1650 – 1750 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2143 – 2293 และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ บาค ไฮเดิล ในยุคต้นของสมัยบาโรค ( พ.ศ. 2143 – 2218 ) มีเครื่องดนตรีประมาณ 20 – 30 ชิ้นสลับกันเล่น เพื่อให้มีรสชาติในการฟังเครื่องดนตรีในการคลอเสียงร้อง เช่น ลิ้วท์ ขลุ่ย ต่อมาได้วิวัฒนาการใช้เครื่องสายมากขึ้นเพื่อประกอบการเต้นรำ รวมทั้งเครื่องลมไม้ด้วย ในสมัยนี้ผู้อำนวยเพลงจะเล่นฮาร์พซิคอร์ด
4. สมัยคลาสสิค ( Classical Period ค.ศ. 1750 – 1825 ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2273 – 2368 สมัยนี้ตรงกับการปฏิวัติและการปฏิรูปในอเมริกา ไฮเดิลเป็นผู้ริเริ่มในการแต่งเพลงและคลาสสิค การแต่งเพลงในยุคนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของคีตกวีที่จะเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลีลา และโอกาสตามอารมณ์ของดนตรี เช่น ดนตรี
ลักษณะหวานก็ใช้ไวโอลิน ถ้าแสดงความองอาจกล้าหาญ ก็ใช้แตรทรัมเปต มีการเดี่ยวเครื่องดนตรี นักดนตรีต้องศึกษาและเล่นให้ถูกต้องตามแบบแผน เพราะดนตรีในยุคนี้เริ่มเข้าร่องเข้ารอย คีตกวีในยุคที่มีไฮเดิล โมสาร์ท กลุ๊ก บีโธเฟน โดยเฉพาะบีโธเฟน เป็นคีตกวีในสมัยโรแมนติกด้วย
5. สมัยโรแมนติก ( Romantic Period ค.ศ. 1825 – 1900 ) พ.ศ. 2368 – 2443 สมัยนี้ตรงกับสมัยนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เพลงในสมัยนี้ ผิดไปจากเพลงในสมัยก่อน ๆ คือเมื่อก่อนเริ่มแรกเกี่ยวกับศาสนา ต่อมามีการเลือกใช้เครื่องดนตรีและในสมัยนี้ จะแต่งตามจุดประสงค์ตามความคิดฝันของคีตกวี เน้นอารมณ์เป็นสำคัญนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี ชูเบิร์ต เสตร้าส์ เมนโดโซน โชแปง ชูมานน์ บราหมส์ ไชคอฟสกี้ โดยเฉพาะในยุคนี้ แต่ละประเทศในยุโรปจะมีความนิยมไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะของเพลงร้อง เพลงประกอบละคร เพลงเต้นรำแบบวอลท์ เป็นไปตามคีตกวีและความนิยมส่วนใหญ่
6. สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึม ( Impressionism ค.ศ. 1850 – 1930 ) ประมาณ พ.ศ. 2393 – 2473 เป็นสมัย
แห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลงดั้งเดิมจากสมัยโรแมนติกให้แปลกออกไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เปรียบเทียบได้กับการใช้สีสันในการเขียนรูปให้ฉูดฉาด ในด้านดนตรีผู้ประพันธ์มักสรรหาเครื่องดนตรีแปลก ๆ จากต่างประเทศ เช่น จากอินเดียมาผสมให้มีรสชาติดีขึ้น การประสานเสียงบางครั้งแปร่ง ๆ ไม่รื่นหูเหมือนสมัยก่อน ทำนองเพลงอาจนำมาจากทางเอเชียหรือประเทศใกล้เคียง แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับดุริยางค์ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี คลาวด์อบุชชี อิกอร์ สตราวินสกี่ อาร์โนลด์ โชนเบิร์ล
7. สมัยคอนเทมพอลารี ( Contempolary ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน ) หรือ Modern Music – Eletronics ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 จนถึงปัจจุบัน ชีวิตของคนในปัจจุบันอยู่กีบความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ได้รู้ได้เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น ไอพ่น ยานอวกาศโทรทัศน์ นักแต่งเพลงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนวิธีการของการประพันธ์เพลงให้เป็นไปในแบบปัจจุบัน

1 ความคิดเห็น:

cake กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ



ประโยชน์ของดนตรีต่อสังคมมนุษย์

1. ด้านการศึกษา นำเสียงดนตรีมาใช้ประกอบในการสอนแบบสร้างสรรค์ทางศิลปะผลปรากฏว่าเสียงดนตรีสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เสริมสร้างความคิด จินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด ทำให้หายเหนื่อย และผ่อนคลายความตึงเครียด

หลักการดังกล่าวนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรีก ในยุคเฮเลนิสติค(Hellinistic Period 440-330 B.C) ชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของ อีธอส (Doctrine of ethos) ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรี โดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความขัดแย้ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้าย ในหนังสือ Poetics นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์ เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรีซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไป ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วย ตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจ ก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่มีจิตใจสูง ดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล จึงมีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจ เปลโต สอนว่า “การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด” ยิ่งกว่านั้นเปลโตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหว ควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”บันไดเสียงทั้งสองข้างต้นทำให้เกิดอารมณ์กล้าหาญและสุภาพเรียบร้อย เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า “จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติก็แล้วกัน”

2.ด้านการแพทย์

ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นและยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น
การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยเฉพาะการใช้ดนตรีลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ดังที่ผู้ใช้นามปากกาว่า คุณทองจีน บ้านแจ้ง เขียนไว้ในเรื่อง แกะสะเก็ดคลาสสิค ในหนังสือ ชาวกรุง ฉบับที่ 5 พ.ศ.2522 ว่า“หมอชาวกรีกโบราณท่านหนึ่งชื่อว่า แอสคลีปีอุส(Asclepius)ได้ใช้ดนตรีบรรเลงให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแล้วฟัง ปรากฏว่าช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี”


3. ด้านสังคม

มีการใช้จังหวะดนตรีมากำหนดควบคุมการทำงาน เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง เช่นการพายเรือ จังหวะยก-ส่งของ เป็นต้น การใช้ดนตรีปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ เช่นเพลงปลุกใจ เพลงเชียร์ เป็นต้น
ใช้เสียงดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ให้ดูศักสิทธิ์ เคร่งขรึม น่าเชื่อถือ หรือสื่ออารมณ์ความรู้สึกที่ร่าเริง เบิกบาน สนุกสนาน ในงานเลี้ยงสังสรรค์ งานฉลองต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างงาน อาชีพ ให้กับบุคคลในสังคมอย่างมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น นักดนตรี นักร้อง ครูสอนดนตรี นักประพันธ์เพลง นักผลิตรายการคอนเสิร์ต นักดนตรีบำบัด ผู้อำนวยการเพลงหรือวาทยากรนักเขียนทางดนตรี นักประดิษฐ์เครื่องดนตรี และผู้ซ่อมหรือปรับเสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น


4. ด้านจิตวิทยา

ใช้เสียงดนตรีปรับเปลี่ยนนิสัยก้าวร้าวของมนุษย์ รักษาโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะเด็กจะทำให้มีสมาธิยาวขึ้น อ่อนโยนขึ้น โดยใช้หลักทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี ซึ่งเชื่อว่าดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของ มนุษย์ จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้ ปัจจุบัน มีนักดนตรีบำบัดผู้ซึ่งมีความสามารถฟื้นฟูและบำบัดรักษาความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำงานในด้านนี้

5. ด้านกีฬา

ใช้ดนตรีประกอบกิจกรรมกีฬา เช่น ยิมนาสติกกิจกรรมเข้าจังหวะ การเต้นแอโรบิค เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ที่ใช้ดนตรีเป็นส่วนประกอบในการดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจกล่าวได้ว่าดนตรีเป็นส่วนประกอบที่ขาดเสียมิได้ในกิจกรรมของสังคมมนุษย์

หัวใจ
myspace codes
Click here for Myspace glitter graphics and Myspace layouts